สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่

สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ จังหวัดนครปฐม (ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2567)
รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ จังหวัดนครปฐม  
(ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2567)


​สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครปฐม พบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สะสมจำนวนมากถึง 9,732 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1,055.67 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งจากข้อมูลพบว่าจำนวนผู้ป่วยในปี 2567 เพิ่มขึ้น 1.20 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566


​จากสถานการณ์พบว่า 3 อำเภอที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุด ได้แก่ อำเภอพุ​ทธมณฑล อำเภอดอนตูม และอำเภอกำแพงแสน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ความหนาแน่นของประชากร สภาพแวดล้อม และปัจเจกบุคคล

7 อันดับอำเภอที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุด:

  1. พุ​ทธมณฑล: 792 ราย (อัตราป่วย 1,775.03)
  2. ดอนตูม: 787 ราย (อัตราป่วย 1,599.82)
  3. กำแพงแสน: 1,532 ราย (อัตราป่วย 1,219.16)
  4. เมืองนครปฐม: 3,268 ราย (อัตราป่วย 1,176.19)
  5. บางเลน: 1,029 ราย (อัตราป่วย 1,087.40)
  6. นครชัยศรี: 927 ราย (อัตราป่วย 832.24)
  7. สามพราน: 1,395 ราย (อัตราป่วย 638.30)

ส​รุป ​สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดนครปฐมยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันอัตราการป่วยเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและแพร่กระจายเชื้อไข้หวัดใหญ่ การป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นสิ่งสำคัญ

​เพื่อควบคุมสถานการณ์ไ​ม่ให้ลุกลาม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาช​น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนควรตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันตนเอง โดยขอแนะนำให้ยึดหลัก  “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด”

  • ปิด : ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง หากเจ็บป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ ควรใส่หน้ากากอนามัย  
  • ล้าง : ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร
  • เลี่ยง : หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือในสถานที่แออัด มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก
  • หยุด : เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรม แม้ผู้ป่วยจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์,           ผู้มีโรคประจำตัว และผู้ที่เป็นโรคอ้วน  ควรให้การดูแลเป็นพิเศษ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หายใจลำบาก และอาจทำให้เสียชีวิตได้

ประชาชนสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422


ข้อมูลจาก: กองโรคติดต่อทั่วไป/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค
วันที่ 15 มกราคม 2563  


แชร์โพสต์นี้
เก็บถาวร
ลงชื่อเข้าใช้ ที่จะแสดงความคิดเห็น